วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ความประทับใจ


อาจารย์คะหนูมีความในใจบอกอาจารย์ค่ะ และหนูขอเรียกอาจารย์ว่าคุณครูนะคะ เพราะหนูมีความรู้สึกว่าคำว่าครูกับคำว่าอาจารย์คำว่าครูมีความลึกซึ้งกับหนูมากว่าเพราะคุณครูเหมือนคุณครูที่หนูรักและเคารพมากที่สุดก่อนที่หนูจะมาเรียนต่อที่นี้ หนูมีความรู้สึกว่าอาจารย์ที่นี้ไม่เหนือนคุณครูที่โรงเรียนเก่าหนูเลยแต่คุณครูของหนูตอนนี้ได้จากหนูไปไม่มีวันกลับมาหาหนูอีกแล้วละคะแต่หนูโชคดีที่เลือกเรียนเลขานุการตามที่คุณครูหนูบอกไว้ และได้มาเจอคุณครุอีกคนที่ ท่านมีชื่อว่า (คุณครูสรรใจ วงศ์ธนะบูรณ์ ) คุณครูรู้ไหมคะว่าคุณครูไม่ได้เป็นแค่ครูที่คอยสอนหนังสือให้พวกหนูเท่านั้น แต่คุณครูเป็นจิตวิญญาณที่แซกซึมเข้ามาโดยนำเอาแต่สิ่งที่ดี เข้ามาด้วยอย่างไม่ขาดสายเหมือนเส้นเลือดในร่างกายของหนูที่ไม่มีวันขาดออกจากกันได้คุณครุก็เป็นดังเส้นเลือดคะที่คอนำความรัก ความอบอุ่น ความรู้ และอนาคตที่สดใสมาให้ตลอดเวลา หนูขอบคุณมากสำหรับทุกสิ่งทุกคำพูดที่คุณครูถามและเอยออกมา หนูขอให้คุณครูหายจากโรคที่เป็นอยู่ตอนนี้

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
จาก วิกิซอร์ซ

...............................................
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน
จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ
หมวด ๑ บททั่วไป (มาตรา ๑ - ๗)
หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ (มาตรา ๘ - ๒๕)
หมวด ๓ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา ๒๖ - ๖๙)
หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา ๗๐ - ๗๔)
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา ๗๕ - ๘๗)
หมวด ๖ รัฐสภา (มาตรา ๘๘ - ๑๖๒)
หมวด ๗ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา ๑๖๓ - ๑๖๕)
หมวด ๘ การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา ๑๖๖ - ๑๗๐)
หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี (มาตรา ๑๗๑ - ๑๙๖)
หมวด ๑๐ ศาล (มาตรา ๑๙๗ - ๒๒๘)
หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๒๙ - ๒๕๘)
หมวด ๑๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา ๒๕๙ - ๒๗๘)
หมวด ๑๓ จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา ๒๗๙ - ๒๘๐)
หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๑ - ๒๙๐)
หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๙๑)
บทเฉพาะกาล (มาตรา ๒๙๒ - ๓๐๙)
(
ดูรวมทุกหมวดในหน้าเดียว)

ประวัติรัฐสภาไทย


ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475หลังการประกาศใชรัฐธรรมนูญชัวคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมาเมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการ
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่
19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

เสียบหุฟัง...ระวังประสาทหูเสื่อม


ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพออกมาเผยว่า ขณะนี้ความเสี่ยงต่อภาวะพิการทางหู ซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรมการฟังเพลงผ่านหูฟังของเครื่องเล่นเอ็มพี 3 หรือไอพอดมีสูงขึ้น โดยเฉพาะในรายที่เปิดเสียงดังหรือฟังติดต่อกันนานๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการที่ประสาทหูจะเสื่อมหรือรับรู้ได้น้อยลง
ความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ในกลุ่มคนที่นิยมความทันสมัย วิ่งตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ทุกฝีก้าว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ชาย หญิง หรือเพศที่สาม จากการสำรวจในเมืองไทยพบว่า ทุกวันนี้มีผู้พิการทางหูเพิ่มขึ้นวันละ 35 คน รวมๆ กันแล้วถึงตอนนี้มีผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อมประมาณ 2 ล้านคนทั่วประเทศตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจ ทำให้ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย ออกมาเผยว่า ขณะนี้กำลังศึกษาถึงผลกระทบจากการฟังเครื่องเล่นเอ็มพี 3 และไอพอดทุกชนิด ว่าต้องฟังติดต่อกันนานเพียงใด และระดับเสียงดังขนาดไหน ถึงจะมีผลต่อประสาทการได้ยินถึงขั้นเสี่ยงต่อความพิการแต่ผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การเสียบหูฟังนานๆ หรือการที่มีเสียงกระตุ้นประสาทการได้ยินอยู่ตลอดเวลา ทำให้เซลล์ประสาทหูเสื่อมได้อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับการทำงานในโรงงานขนาดใหญ่ หรือการอยู่ในบริเวณท้องถนนที่มีเสียงดังมากๆขณะที่หลายๆ ปัจจัยเราไม่สามารถควบคุมให้เสียงค่อยลงได้ ไม่สามารถหยุดเสียงเหล่านั้นลงได้เมื่อต้องการ แต่การฟังเอ็มพี 3 และไอพอด เราสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเองดังนั้นพึงสำนึกให้ขึ้นใจว่า ฟังน่ะฟังได้ แต่ต้องไม่ดังมากและนานมากติดต่อกัน ขอให้ยึดหลัก “ความพอดี” เป็นที่ตั้ง จะได้เพลิดเพลินเจริญหูได้นานๆ โดยหูไม่ดับหรือประสาทหูเสื่อมไปเสียก่อน

ผลไม้ไทย ลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็ง


น่าตกใจไม่น้อยที่มีข้อมูลออกมาว่า ชาวไทยเสียชีวิตเฉลี่ย 6 คนต่อชั่วโมงจากโรคมะเร็ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากสิ่งที่เรียกว่า “อนุมูลอิสระ” ต้นตอของอนุมูลอิสระมีอยู่ทั้งภายนอกและภายในร่างกายของคนเรา ภายนอกได้แก่มลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ แสงแดด รังสีแกมมา คลื่นความร้อน ฯลฯ ส่วนภายในคือกระบวนการเผาผลาญออกซิเจนในเซลล์ การย่อยทำลายเชื้อแบคทีเรียของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายก็สามารถทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้เช่นกัน จากการวิจัยพบว่าสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินอี วิตามินซี และ เบต้าแคโรทีน ทั้ง 3 ตัวสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ โดยวิตามินซีซึ่งละลายน้ำจะทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระในเซลล์ที่เป็นของเหลว ป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกอนุมูลอิสระทำลาย ส่วนวิตามินอีละลายในไขมัน ช่วยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ วิตามินเอซึ่งละลายในไขมันและอยู่ในรูปของเบต้าแคโรทีนหรือแคโรทีนอยด์ มีในอาหารธรรมชาติกว่า 600 ชนิด ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์ ป้องกันเนื้องอก และมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพด้านอื่นๆ เช่น ลดความเสี่ยงการเสื่อมของตาเนื่องจากสูงอายุ ลดการเกิดต้อกระจก โรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี กรมอนามัยได้ทำการศึกษาแหล่งอาหารไทยที่มีสารต้านอนุมูลอิสระทั้ง 3 ตัวนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศได้บริโภคสารสำคัญนี้อย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยศึกษาผลไม้ที่มีการบริโภคในประเทศไทย 83 ชนิด ในปริมาณ 100 กรัม พบว่าผลไม้ที่มีสารเบต้าแคโรทีนมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก (873 ไมโครกรัม) รองลงมาได้แก่ มะเขือเทศราชินี (639 ไมโครกรัม) มะละกอสุก (532 ไมโครกรัม) มะปรางหวาน (230 ไมโครกรัม) แคนตาลูปเหลือง (217 ไมโครกรัม) มะยงชิด (207 ไมโครกรัม) สับปะรดภูเก็ต (150 ไมโครกรัม) แตงโม (122 ไมโครกรัม) ส้มสายน้ำผึ้ง (101 ไมโครกรัม) และ ลูกพลับ (93 ไมโครกรัม) ผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ขนุนหนัง (2.38 มิลลิกรัม) มะขามเทศ (2.29 มิลลิกรัม) มะม่วงเขียวเสวยดิบ (1.52 มิลลิกรัม) มะเขือเทศราชินี (1.34 มิลลิกรัม) มะม่วงเขียวเสวยสุก (1.23 มิลลิกรัม) มะม่วงน้ำดอกไม้สุก (1.1 มิลลิกรัม) มะม่วงยายกล่ำสุก (0.97 มิลลิกรัม) กล้วยไข่ (0.67 มิลลิกรัม) แก้วมังกรเนื้อสีชมพู (0.59 มิลลิกรัม) และสตรอว์เบอร์รี่ (0.54 มิลลิกรัม) ส่วนผลไม้ที่มีวิตามินซีมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ ฝรั่งกลมสาลี่ (187 มิลลิกรัม) ฝรั่งไร้เมล็ด (151 มิลลิกรัม) มะขามป้อม (111 มิลลิกรัม) มะขามเทศ (97 มิลลิกรัม) เงาะโรงเรียน (76 มิลลิกรัม) ลูกพลับ (73 มิลลิกรัม) สตรอว์เบอร์รี่ (66 มิลลิกรัม) มะละกอแขกดำสุก (55 มิลลิกรัม) พุทราแอปเปิ้ล (47 มิลลิกรัม) และส้มโอขาวแตงกวา (45 มิลลิกรัม) เห็นอย่างนี้แล้วก็รู้ได้เลยว่า ไม่ยากสักนิดที่เราจะลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็ง แค่พยายามหาผลไม้ไทยที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี มารับประทานเป็นประจำ เท่านั้นก็ช่วยได้เยอะแล้วนอกจากดีต่อสุขภาพ การหาซื้อผลไม้ไทยมารับประทานกันเยอะๆ ยังดีต่อเศรษฐกิจของชาติด้วย ในแง่ที่ช่วยลดการนำเข้าผลไม้จากเมืองนอก เงินตราที่ไหลออกนอกประเทศก็น้อยลง

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย


การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยมี 4 รูปแบบ ซึ่งเลขานุการจะต้องให้ความสำคัญต่อระบบความปลอดถัยของข้อมูลได้แก่
1. การอัพเดต
2. การแบ่งโซน
3. การจำกัดการับคุกกี้
4. ตรวจสอบการเข้ารหัสก่อนที่จะกรอกข้อมูลไปในไซต์ต่าง ๆ













การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเลขานุการ


การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเลขานุการ ด้วยการมองย้อนกลับ เพื่อหาความบกพร่องง จุดหรือประเด็นปัญหาอุปสรรคและจุดอ่อนโดยทั่วไปเลขานุการจะใช้เทคนิคในการแก้ไขปัญหาโดยอาจจะบอกไม่ได้ว่าวิธีใดดีที่สุด หากแต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของเลขานุการภายใต้สถานการณ์จากภาวะสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ รวมถึงจังหวะ โอกาส เวลา สถานที่ และสถานการณ์นั้น ๆ เลขานุการจึงต้องเป็นผู้มีไหวพริบและปฏิภาณที่ดี มีความรอบคอบ รอบรู้และความสามารถในการให้ความช่วยเหลือ สามารถพลิกสถานการณ์จากวิกฤตให้เป็นโอกาส